fbpx

Vitamin C เเบบไหนที่เหมาะกับผิวคุณ?

เม้าท์!!! วันนี้จะพาทุกท่านมาเม้าท์กันในเรื่องของ Vitamin C Vitamin C (หรือในชื่อที่หลากหลายเช่น L-ascorbic acid, ascorbic acid, ascorbate) นางเป็นวิตามินที่มีประโยชน์อย่างมากอย่างที่หลายๆคนรู้จักกันนั่นเเหละ เเต่ Blog นี้จะพาทุกคนเดินทางไปเเบบกึ่งๆ วิชาการนิดๆ อยากสอนเเฟนเพจดูรูปเเบบวิตามินซีด้วยเเหละ เผื่อจะได้มีความรู้เบื้องต้นในการเลือกซื้อกันนะจ๊ะ ถ้าพร้อมเเล้วไปดูประโยชน์กันก่อนเลยจ้า

  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant)  เช่น ป้องกันความแก่จากแสงแดด(Photoaging), ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนัง
  2. ช่วยต่อต้านการอักเสบ( Anti-inflammatory) เช่น อาการผื่นแดงที่ผิวหนัง , ผิวไหม้จากแสงแดด (อ้างอิงจากข้อมูลด้านล่างจ้า)
  1. ลดรอยตีนกาได้นะ เช่นที่เกิดจากการยืดหดตัวของผิวหนังจากรังสีUV (Solar Elastosis )
  2. ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับเกราะป้องปัน(Skin lipid barrier) โดยการเพิ่มการผลิตSphingolipidซึ่งเป็นส่วนประกอบนึงของ Ceramide
  3. ลดและป้องกันการเกิดจุดด่างดำบนผิวหนัง(Hyperpigmentation)รวมถึง ลดการเกิดจุดด่างดำหลังผิวได้รับการอักเสบ(Post-inflammatory hyperpigmentation) เช่น รอยสิวจากสิวชนิดอักเสบจ้า (มีข้อมูลบ่งชี้ชัดเจนมากด้านล่าง)
  1. ช่วยต่อต้านความชรา( Anti-aging ) จริงๆเล้ววิตามินซีเป็น Co-factor ในกระบวนการสร้างคอลาเจนด้วยนะ โดยช่วยในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนประเภทที่ 1 และ 3 และ ลดเอนไซม์ MMP-1ซึ่งทำหน้าที่ย่อยคอลลาเจนประเภทที่ 1 และ 3 ซึ่งช่วยลดริ้วรอย และเพิ่มความยืดหยุ่นของผิวหนัง รวมถึงลดการย่อยสลายคอลลาเจนประเภทที่1 และ 3 ได้จ้า (อ้างอิงจากรูปด้านล่าง)

ซึ่งประโยชน์ของ Vitamin C ที่พูดมาทั้ง 6 ข้อนี้ มีหลักฐานทางวิทยาศาตร์เยอะสุดในวิตามินซีที่มีชื่อว่า L-ascorbic acid ซึ่งในปัจจุบันวิตามินซีมีหลากหลายชนิด ซึ่งจะเรียกกลุ่มนี้ว่า อนุพันธ์วิตามินซี (Vitamin C derivatives) ซึ่งเสถียรและระคายเคืองน้อยกว่า

จุดด้อยของ L-ascorbic acid

จริงๆ เเล้วหลายคนอาจไม่รู้ว่า L-ascorbic acid นางเป็นวิตามินที่ละลายน้ำ (hydrophilic) ซึ่งชั้นผิวหนังของเราจะมี Lipid barrier ทำให้ L-ascorbic acid ไม่สามารถซึมได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญความไม่เสถียร เมื่อโดนอากาศจะเกิด oxidation เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล( dihydroascorbic acid) และ จะเสถียรมากขึ้นที่ pH3.5 ซึ่งเป็นกรดค่อนข้างต่ำ และยังมีฤทธิ์ในการผลัดเซลล์ผิวอ่อนๆ ทำให้ผู้ที่ใช้รู้สึกยุบยิบจนเกินไป จนถึงมีอาการระคายเคืองกรุบๆได้ในผิวแพ้ง่ายหรือระคายเคืองง่าย ซึ่งในปัจจุบัน นักวิทยาศาตร์ได้พัฒนาวิตามินซี ให้มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น หรือที่เรียกว่า อนุพันธ์วิตามินซี (Vitamin C derivatives) ในการแก้ไขปัญหาของ L-ascorbic acid

L-ascorbic acid สามารถเสถียรและมีประสิทธิภาพมากขี้นได้โดยการผสมกับสารอื่นในสูตรครีมเช่น (ใครไม่คล่อง ENG ให้ดูตัวอย่างโปรดักส์เลยจ้า)

ตัวอย่างที่ 1 เขาจะผสม L-ascorbic acid+Vitamin เช่น

L-ascorbic acid+Vitamin E+Ferulic acid(มีประสิทธิภาพดีสุด) ตัวอย่างผลิตภันฑ์ SkinCeuticals C E FERULIC® WITH 15% L-ASCORBIC ACID

อนุพันธ์วิตามินซีของนางมาในรูปเเบบ (Vitamin C derivatives) คือ นำ L-ascorbic มาเกิดปฏิกิริยาเคมีกับสารอื่นเพื่อเพิ่มความสามรถและลดจุดด้อยของวิตามินซีดั้งเดิม L-ascorbic ซึ่งจุดนี้คือเก๋มาก มีความหลากหลาย ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดี เวลามาวิเคราะห์ส่วนผสมเเล้วดูไม่อาย เเต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เเอดมินก็ยังไม่เคยเลยนะจ๊ะ บอกได้เเค่โครงสร้างวิตามินซีเบื้องต้นจ้า

ตัวอย่างที่ 2 จะเป็นการผสมกันระหว่าง Sodium Ascorbyl Phosphate (SAP) และ Magnesium Ascorbyl Phosphate (MAP)

ทั้งสองชนิดนี้เกิดจากการเติมหมู่ฟอสเฟสจนมีความเสถียรที่ pH6.5-6.8 และมีความชอบน้ำมัน (Lipophilic) แต่ยังคงข้อเสียคือความสามารถในการซึมผ่านเข้าผิวหนังไม่ดีเท่าที่ควร ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ Mad Hippie Vitamin C Serum 

ตัวอย่างที่ 3 Ascorbyl Palmitate (AA-PAL) : ตัวนี้คือนางไม่เสถียรเหมือนกันกับ L-ascorbic acid (AA) และ (Lipophilic) เเต่นางสามารถกระตุ้นกระบวนการสร้างคอลลาเจนได้ดีกว่า L-ascorbic acid (AA) อีกจ้าเธอ ซึ่งทำให้สูตรครีมที่ใช้จะมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ อาจจะเหนอะหนะได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์คือ Vitamin C Ester Intensive Brightening Regimen 15%

ตัวอย่างที่ 4 Ascorbyl Tetraisopalmitate (VC-IP) : ตัวนี้จะมีเสถียรกว่า L-ascorbic acid (AA) ด้านบน เเละมีความสามารถในการซึมผ่านเข้าผิวหนังได้ดีมากๆๆๆๆๆๆๆ (เเต่อาจเกิดการระคายเคืองได้ แค่อาจจะนะ ห้ามฟ้องนะ ) และตัวนี้นางชอบน้ำมัน (Lipophilic) ซึ่งทำให้สูตรครีมที่ใช้จะมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ อาจจะเหนอะหนะได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ Paula’s Choice Super Antioxidant Concentrate Serum with Retinol

ตัวอย่างที่ 5 Ascorbyl Glucoside (AA-2G) : ตัวนี้เสถียรมากเเม่ มีความสามารถในการซึมผ่านเข้าผิวหนังได้ดีมาก มีความชอบน้ำ(Hydrophilic) ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ The INKEY List- 15% Vitamin C and EGF Serum (ถึงจะปังขนาดนี้ เเต่เเอดมินก็ยังไม่เคยลองนะ)

ตัวอย่างที่ 6 Trisodium Ascorbyl 6-Palmitate 2-Phosphate (APPS) : ตัวนี้ก็เสถียรม๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ และ ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เป็น amphiphilic vitamin C derivative (ชอบทั้งน้ำและน้ำมันในโมเลกุลเดียวกัน) มีความสามารถในการซึมผ่านเข้าผิวหนังได้ดีที่สุด ปังเว่อร์ ปังมาก ปังม๊ากๆๆๆๆ (มีอ้างอิงด้านล่าง)

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ Dr.Ci:Labo : VC100 Essence Lotion EX

ตัวอย่างที่ 7 -O-Ethyl Ascorbate(EAC) : วิตซีตัวนี้คือสารที่เสถียรมาก มีความสามารถในการซึมผ่านเข้าผิวหนังได้ดีมว๊ากกก ช่วยป้องกันการเกิดเม็ดสีได้ดีอีกด้วยนะ ยี่ห้อนี้น่าจะเป็นเเบรนด์ไทยเเบรนด์เดียวที่พอหาได้ตอนนี้จ้า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ FYNE Potent Vitamin C Antioxidant Brightening Fluid Serum

แล้วหนูจะเลือกใช้ Vitamin C ตัวไหนดีหละแม่?

  1. ผิวแข็งแรงไม่แพ้ง่าย แนะนำกลุ่มนี้ >>> L-ascorbic acid+Vitamin E+Ferulic acid
  2. ผิวมันเป็นสิวง่ายและแพ้ง่าย แนะนำกลุ่มนี้ >>> EAC,APPS,AA-2G

ดังนั้นก่อนใช้ Vitamin C ทุกรูปแบบต้องทดสอบการระคายเคืองก่อนเสมอ (เช่นทาที่ข้อพับแขนทิ้งไว้ 4 ชั่วโมง ) หากไม่แพ้ ต้องค่อยๆเพิ่มปริมาณการใช้ไปและความบ่อยไปเรื่อยๆระวังการเกิดอาการแพ้ หากแพ้ให้หยุดใช้นะจ๊ะ ทั้งนี้ทั้งนั้น เพจ “เอะอะรีวิว” หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อวิตามินซีไม่มากก็น้อยนะจ๊ะ เเอดมินไม่ได้มีเจตนาไม่ดีต่อเเบรนด์ใดๆเลย ห้ามฟ้องเด้อ ใครชอบก็กดไลค์ กดเเชร์ เป็นกำลังใจในเเฟนเพจหน่อยนะจ๊ะ สำหรับวันนี้ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านจ้า

References

 Al-Niaimi, F., & Chiang, N. Y. Z. (2017). Topical vitamin C and the skin: mechanisms of action and clinical applications. The Journal of clinical and aesthetic dermatology, 10(7), 14.

Barnet Products Corp, Stable forms of Vitamin C, Technical Bulletin, 2001

Draelos, Z. D. (2015). Cosmetic Dermatology: Products and Procedures (2nd ed.). Wiley-Blackwell.

Fitzpatrick, R. E., & Rostan, E. F. (2002). Double‐blind, half‐face study comparing topical vitamin C and vehicle for rejuvenation of photodamage. Dermatologic surgery, 28(3), 231-236.

Klock, J., Ikeno, H., Ohmori, K., Nishikawa, T., Vollhardt, J., & Schehlmann, V. (2005). Sodium ascorbyl phosphate shows in vitro and in vivo efficacy in the prevention and treatment of acne vulgaris. International journal of cosmetic science, 27(3), 171-176.

Pullar, J. M., Carr, A. C., & Vissers, M. (2017). The roles of vitamin C in skin health. Nutrients, 9(8), 866

Ruamrak, C., Lourith, N., & Natakankitkul, S. (2009). Comparison of clinical efficacies of sodium ascorbyl phosphate, retinol and their combination in acne treatment. International journal of cosmetic science, 31(1), 41-46.

Shibuya, S., Sakaguchi, I., Ito, S., Kato, E., Watanabe, K., Izuo, N., & Shimizu, T. (2017). Topical application of trisodium ascorbyl 6-palmitate 2-phosphate actively supplies ascorbate to skin cells in an ascorbate transporter-independent manner. Nutrients, 9(7), 645.

Sivamani, R. K., Jagdeo, J. R., Elsner, P., & Maibach, H. (2015). Cosmeceuticals and Active Cosmetics (Cosmetic Science and Technology Series) (3rd ed.). CRC Press.

Stamford, N. P. (2012). Stability, transdermal penetration, and cutaneous effects of ascorbic acid and its derivatives. Journal of cosmetic dermatology, 11(4), 310-317.
Woolery‐Lloyd, H., Baumann, L., & Ikeno, H. (2010). Sodium L‐ascorbyl‐2‐phosphate 5% lotion for the treatment of acne vulgaris: a randomized, double‐blind, controlled trial. Journal of cosmetic dermatology, 9(1), 22-27.

No Comments Yet

Leave a Reply

Your email address will not be published.